นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า เวิลด์แบงก์ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 ใหม่ จากเดิมคาดจีดีพีจะขยายตัว 3.9% ปรับลดเหลือ 2.9% เพราะมีปัจจัยผลกระทบจากต่างประเทศค่อนข้างมาก และไทยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเพิ่มสูง และยิ่งหนี้ครัวเรือนสูง เป็นเรื่องน่ากังวล เพราะรายได้ครัวเรือนยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด ทำให้มีผลต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และกระทบการบริโภคส่งผลมายังภาพรวมเศรษฐกิจไทยคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
“หนี้ครัวเรือนสูงเป็นเรื่องน่ากังวล ครัวเรือนไม่สามารถฟื้นตัวได้จากโควิด รายได้หลายครัวเรือนต่ำกว่าก่อนโควิด และยิ่งมีแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ครัวเรือนยากจนมากขึ้น เรื่องของอาหารและพลังงาน ครัวเรือนยากจนได้บริโภคมากเมื่อเทียบกับประชากรอื่นๆ เป็นสิ่งที่ยากลำบาก ครอบครัวที่ยากจนรับมือกับหนี้ต่างๆ เป็นเรื่องน่ากังวล เพราะครอบครัวยากจนจะสามารถจ่ายคืนหนี้ความสามารถหรือไม่ และจะจ่ายได้อย่างไร เหลือใช้จ่ายเท่าไร ซึ่งหนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย”
ทั้งนี้ในระยะยาวมองว่าควรมีแนวทางดำเนินการอย่างไรโดยเฉพาะความยากจน การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน ทั้งการจ่ายหนี้ จ่ายดอกเบี้ย ทำให้รายได้ครัวเรือนสามารถใช้จ่ายได้ลดลง ดังนั้นการบริโภคครัวเรือนจะน้อยลง แล้วส่งผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจ เป็นเหตุจากหนี้ครัวเรือน ถ้าระดับหนี้สัดส่วนมากเทียบกับรายได้ ครัวเรือนทั่วไปจะมีความเสี่ยงถูกลดระดับสถานะครัวเรือนไปเป็นครัวเรือนยากจน มีเงินไปใช้การศึกษาน้อยหรือไม่มี เป็นความท้าทายไม่เพียงแต่ครัวเรือน แต่ท้าทายทั้งระบบเศรษฐกิจคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
น.ส.วรันธร ภู่ทอง นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า การที่ปรับประมาณการจีดีพีลดลง 1% จาก 3.9% เหลือ 2.9% มาจากความเสี่ยงจากต่างประเทศ สงครามยูเครนและรัสเซีย กระทบต่อราคาพลังงานทำให้ต้นทุนสูงขึ้น กระทบต่อการบริโภคเอกชน และหากการขยายตัวเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบ จะทำให้แนวโน้มการส่งออกไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย และต่อด้วยการบริโภคในประเทศ กระทบการลงทุน และการส่งออกที่อ่อนแอลง ส่วนการท่องเที่ยวปีนี้คาดจะมีต่างชาติเที่ยวไทย 6.2 ล้านคน ถือว่าต่ำกว่าเมื่อเทียบกับก่อนโควิด
ขณะที่ความเสี่ยงในเรื่องราคาน้ำมันหากมีความรุนแรงขึ้น และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบมากขึ้น จะทำให้จีดีพีไทยปีนี้ลดลงไปเหลือแค่ 2.6% ได้ภายใต้สมมุติฐาน สงครามรัสเซียและยูเครนกระทบตลาดการเงิน นโยบายการคลังในการช่วยการบริโภคในประเทศไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจให้เศรษฐกิจไทยต่ำกว่าคาด ซึ่งนโยบายการคลังจะต้องเน้นตรงจุด ตรงเป้าหมาย เป็นนโยบายที่เหมาะสม จะช่วยคนได้มาก เหมือนกับนโยบายคนละครึ่งที่สนับสนุนร้านค้าที่ได้รับผลกระทบ และช่วยสนับสนุนใช้จ่ายคึกคักมากขึ้น เหมาะสมในช่วงราคาน้ำมันเพิ่มสูง
นายคิม อลัน เอ็ดเวิร์ด นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทยและเมียนมา ธนาคารโลก กล่าวว่า เรื่องหนี้ครัวเรือนสูง 90% แล้วถ้าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้หนี้สินเพิ่ม ความยากลำบากครัวรเอนก็เพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะครอบครัวเปราะบาง ซึ่งทราบกันดีว่า ระบบธนาคารโดยรวม สามารถรองรับแรงกระแทกได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งมาตรการต่างๆ อาจกระทบต่อภาคการเงิน ทำให้อาจต้องทดสอบความเสี่ยงหรือทำสเตรทเทสให้มั่นใจว่า ระบบธนาคารสามารถรับมือภาวะช็อกต่างๆได้ ส่วนพื้นที่ทางการคลังควรมุ่งเป้าเจาะจงในประชาชนเปราะบางมากที่สุด ที่ผ่านมาโครงการต่างๆครอบคลุมจำนวนมาก แต่จำนวนเงินยังน้อยอยู่ เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ชีวิตประชาชนที่ได้รับผลกระทบ